พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอกพระยา พหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน)[1] กับท่านผู้หญิงจับ พหลโยธิน สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 5 สมัย รวมระยะเวลา 5 ปี 5 เดือน 21 วัน ยังได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรษ ด้วย ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 รวมอายุ ได้ 60 ปี
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์) มีพี่ชายที่รับราชการทหาร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพยุหเสนา เช่นกัน คือ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (นพ) ยศสูงสุดเป็น พลโท พระยาพหลโยธิน รามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน)[2]
การศึกษา
- โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)
- โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
- โรงเรียนนายร้อยทหารบก
- พ.ศ. 2446 โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองโกรสลิ สเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2455 โรงเรียนช่างแสง ประเทศเดนมาร์ก (1 ปีก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- สมัยที่ 1 : 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
- สมัยที่ 2 : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 22 กันยายน พ.ศ. 2477
- สมัยที่ 3 : 22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
- สมัยที่ 4 : 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
- สมัยที่ 5 : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
- พ.ศ. 2458 ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร
- พ.ศ. 2460 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา
- พ.ศ. 2461 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2
- พ.ศ. 2469 ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
- ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับใน ราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์"
- วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก
- วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2473 จเรทหารปืนใหญ่
- วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา
- พ.ศ. 2475 ผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2487 แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ และตำรวจสนามตามกฏอัยการศึก
บทบาททางการเมือง
- วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จนได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" จากบทบาทที่มีค่อนข้างสูงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะเป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายทหารบก และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ
- วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
- วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
- วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3
- พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 4 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
- วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5
- วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2487 แม้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
บทบาททางการเมืองและชีวิต
ดูรายละเอียดวันที่แปลี่ยนแปลงการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ พระยาทรงสุรเดช ในส่วนของ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ ที่ประกอบด้วย ตัวท่าน, พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พระยาทรงสุรเดช และ พระประศาสน์ พิทยายุทธ ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับ
ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้าน เมืองได้บ้าง" และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมา มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อสมทบกับพระยาทรงสุรเดชตามแผนที่วางไว้ พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่ เอว เป็นอาวุธข้างกาย
ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เดินออกจากร่มเงาต้นอโศกข้างถนนราชดำเนิน เพื่อแสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร ซึ่งมีใจความว่า
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 2 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง
พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ หลังรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้ง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ด้วยวัยเพียง 60 ปี ด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอ ที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพด้วยซ้ำ จนทางรัฐบาลในสมัยนั้น (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิง ให้ท่านแทน
ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ครอบครัว
พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกันต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ
- นางสาวพาภรณ์ พหลพลพยุหเสนา
- นางพรจันทร์ ศรีพจนาถ
- พลตรีชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา
- พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา
- พันตำรวจโทพรหมมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา
- นางพวงแก้ว
- นางผจี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น